Please Keep this blank
ไม่ใช่ เพราะการทำดีบีเอสยังสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ช่วยให้เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น และขยับร่างกายได้มากกว่าเดิม พร้อมยังสามารถบรรเทาอาการบิดจากการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ (Dystonic Muscle Cramp)
ดีบีเอสไม่ใช่ตัวเลือกสุดท้ายในการรักษา เพราะช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้ารับการรักษาด้วยดีบีเอส คือช่วงระยะของโรคที่ผู้ป่วยมีอาการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ และเริ่มมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา
หากผู้ป่วยรอนานเกินไปจนเข้าสู่ระยะที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแล้ว
การทำดีบีเอสอาจไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการพาร์กินสันได้ดีเท่าที่ควร
ดังนั้นควรเข้ารับการรักษาในช่วงระยะของโรคที่เหมาะสม ซึ่งการรักษาด้วยดีบีเอสมีมานานกว่า 30ปี และมีผู้เข้ารับการรักษาแล้วทั่วโลกมากกว่า 175,000 ราย
85%-89% ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน หลังทำดีบีเอส
การรักษาด้วยดีบีเอสทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เกิดจากโรคพาร์กินสันได้มากกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว
การรักษาด้วยดีบีเอสจะได้ผลดีขึ้นอยู่กับ:
ข้อมูลอ้างอิงจากผลงานวิจัยเปรียบเทียบการรักษาระหว่างการใช้ดีบีเอสกับการรักษาด้วยการให้ยาอย่างเต็มที่ ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยระยะเริ่มต้นและกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมานานแล้ว โดยประเมินจากการเคลื่อนไหวโดยรวมของผู้ป่วย :
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอุปกรณ์ดีบีเอสอยู่ในร่างกายไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าที่กระตุ้นเลย แต่บางรายอาจรู้สึกซ่าแปลบ ๆ เมื่อเปิดเครื่องกระตุ้นครั้งแรก จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากพบว่าการกระตุ้นมีการเปลี่ยนแปลง หรือทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัดดีบีเอสควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งการยกแขนสูงกว่าไหล่ และกิจกรรมที่ต้องยืดกล้ามเนื้อคอมาก
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการกลับไปทำกิจกรรมที่เคยทำก่อนเข้ารับการผ่าตัด
โดยทั่วไปการปรับความแรงของการกระตุ้นทำได้โดยแพทย์เท่านั้น ในบางกรณี แพทย์อาจอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถปรับค่าการกระตุ้นได้เอง โดยใช้เครื่องควบคุมแบบพกพาสำหรับผู้ป่วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ดีบีเอสที่ใช้และรูปแบบการรักษาที่ผู้ป่วยต้องได้รับ อุปกรณ์พกพาชิ้นนี้จะทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับระดับการกระตุ้นได้เอง โดยเลือกจากโปรแกรมที่แพทย์ตั้งไว้ให้แล้ว
การรักษาด้วยดีบีเอสสามารถปรับค่าการกระตุ้นตามการเปลี่ยนแปลงของอาการเมื่อเวลาผ่านไป จึงควบคุมอาการต่างๆ ของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง และยังสามารถปิดการใช้งานอุปกรณ์ดีบีเอสหรือผ่าตัดออกได้หากจำเป็น
หนึ่งในประโยชน์สำคัญของการรักษาด้วยการผ่าตัดดีบีเอสเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเดิมก็คือ เนื้อเยื่อเส้นประสาทจะไม่เสียหายจากกระตุ้นสมอง อีกทั้งดีบีเอสยังช่วยยับยั้งหรือลดสัญญาณไฟฟ้าของสมองที่เป็นสาเหตุของอาการต่างๆ ในโรคพาร์กินสันด้วยเช่นกัน
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษาหรือการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจแมมโมแกรม การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า และไม่ควรใช้การรักษาด้วยวิธีไดอะเธอมี (การให้ความร้อนในเนื้อเยื่อชั้นลึก) กับผู้ป่วยที่มีดีบีเอสอยู่
แนะนำให้แสดงบัตรประจำตัวผู้ป่วยดีบีเอส และขอรับการตรวจค้นด้วยมือแทน หากจำเป็นต้องเดินผ่านเครื่องตรวจจับวัตถุโลหะ โปรดอ่านคู่มือผู้ป่วยเพื่อดูคำแนะนำเพิ่มเติม