แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเป็นหลัก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองต่อยาที่ดีมาก โดยยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันจะเป็นกลุ่มยาเสริมการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีนเป็นหลัก เพื่อไปทดแทนสารสื่อประสาทโดปามีนที่มีการลดลงไป
ยารักษาโรคพาร์กินสันสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่ม ดังนี้
การรักษามักเริ่มด้วยยาเลโวโดปา ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ทดแทนสารสื่อประสาทโดปามีนโดยตรง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการรักษา เพื่อพิจารณาชนิดยาหรือการใช้ยาร่วมชนิด เพื่อให้ได้ประโยชน์ดีที่สุด
ในระยะต้นของอาการโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองต่อยาดีมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าโรคมีอาการรุนแรงขึ้น เข้าสู่ระยะกลางหรือระยะปลาย ผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการตอบสนองต่อยาที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาการดังกล่าวได้แก่
การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก หรือดีบีเอส (DBS) — ดีบีเอส คือการใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสายนำไฟฟ้าไปยังสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว โดยเครื่องจะถูกฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกใต้ไหปลาร้า
การให้ยาเลโวโดปา-คาร์บิโดปาแบบต่อเนื่องทางลำไส้ — การรักษาวิธีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เป็นมานาน โดยจะใช้ท่อซึ่งฝังไว้ในลำไส้เล็กร่วมกับเครื่องปั๊มยาที่ติดกับเข็มขัดรอบเอว เครื่องปั๊มจะจ่ายเจลเลโวโดปา/คาร์บิโดปาผ่านท่อ
การผ่าตัดแบบใช้ความร้อนจี้ทำลาย (Ablative Surgery) — ศัลยแพทย์จะใช้ความร้อนจี้ทำลายบริเวณที่เฉพาะเจาะจงในสมอง เพื่อลดอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ปัจจุบันพบการใช้วิธีนี้น้อย แต่อาจเป็นตัวเลือกการรักษาในบางกรณี