ขั้นตอนที่ 1: การผ่าตัดฝังสายนำไฟฟ้า(Lead)
ประสาทศัลยแพทย์จะนำภาพ MRI และ CT-Scan ของผู้ป่วยมาสร้างภาพสมองและวางแผนการผ่าตัด จากนั้นจึงสอดสายนำไฟฟ้าเข้าไปทางแผลเปิดขนาดเล็กบริเวณกะโหลก และฝังเข้าไปในสมองตำแหน่งเป้าหมายที่ควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำ
ในระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาในบางช่วง โดยแพทย์อาจบอกให้ผู้ป่วยขยับแขน ขา หรือขยับมือ เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งจะมีแพทย์ด้านประสาทวิทยาเข้ามาประเมินอาการและผลลัพธ์ของการกระตุ้น ว่าสามารถลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติต่างๆ ได้ เช่น อาการเกร็ง อาการสั่น อาการเคลื่อนไหวช้า เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2: การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองและสายต่อ
หลังจากที่ใส่สายนำไฟฟ้าแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบให้หลับตลอดในขั้นตอนนี้
โดยประสาทศัลยแพทย์จะทำการฝังเครื่องกระตุ้นสมอง(Neurostimulator) ที่ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกใต้กระดูกไหปลาร้า จากนั้นเชื่อมสายนำไฟฟ้าเข้ากับเครื่องกระตุ้นสมองด้วยสายต่อ (Extension) ซึ่งสายต่อจะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณศีรษะ สอดผ่านหลังหู คอ ตลอดไปจนถึงบริเวณหน้าอก เพื่อต่อเข้ากับเครื่องกระตุ้นสมอง
ระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
รวมทั้งศัลยแพทย์ระบบประสาทผู้ผ่านการอบรมเฉพาะทาง และมีประสบการณ์ด้าน
การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกทั้งนี้ ระยะเวลาและขั้นตอนอาจแตกต่างกันไปตาม
แพทย์และโรงพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดดีบีเอสแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจกับทีมแพทย์สหสาขา เพื่อประเมินอาการก่อนผ่าตัดรวมถึงการตรวจร่างกายต่างๆ เช่น การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI), ตรวจสแกนสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan), ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, เอ็กซ์เรย์ปอด และการตรวจเลือดต่างๆ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา
ประสาทศัลยแพทย์
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านหลังผ่าตัด 3 – 7 วัน และรักษาตัวต่อที่บ้านอีกไม่กี่สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการปกติและบรรเทาได้ด้วยยา แพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและการผ่าตัดดีบีเอส จะแจ้งให้คุณทราบว่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายตามปกติได้เมื่อใด
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จะนัดเปิดเครื่องตั้งโปรแกรมการรักษา หลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดแล้ว โดยจะตั้งค่าการกระตุ้นเริ่มต้นที่เหมาะสมเพื่อควบคุมอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาจมีการปรับยาร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย