การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก หรือ ดีบีเอส (DBS) สำหรับโรคพาร์กินสันเป็นการรักษาในระยะยาวที่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและทีมแพทย์ หลังใส่ดีบีเอสแล้ว ผู้ป่วยและทีมแพทย์จะมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษานั้นจะได้ผลที่ดีตามที่คาดไว้
ระหว่างพักฟื้น ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ระมัดระวังเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องก้มเงยคอ ยกแขนสูงกว่าไหล่ หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ยกของหนัก
ผู้ป่วยบางคนอาจไม่รู้สึกว่าอาการต่าง ๆ บรรเทาลงทันทีหลังรักษา โดยปกติแล้วอาจใช้เวลา 6 ถึง 12 เดือนหลังผ่าตัดจึงจะเห็นผลลัพธ์สูงสุด ดังนั้นการไปพบแพทย์หลังผ่าตัดเพื่อตั้งค่าการกระตุ้นเริ่มต้น พร้อมปรับค่าเป็นระยะๆ จึงเป็นข้อปฏิบัติที่ ผู้ป่วยควรทำในระหว่างติดตามการรักษา แพทย์อาจประเมินการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยบริเวณจุดที่ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นและสายต่อ และอาจทำการเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของอุปกรณ์กระตุ้นสมองส่วนลึก
แพทย์จะตั้งค่าการกระตุ้น เพื่อให้สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้มากที่สุด โดยไม่ให้มีผลข้างเคียงหรือมีน้อยที่สุด แพทย์จะนัดติดตามผลซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้าพบแพทย์หลายครั้งเพื่อปรับค่าการกระตุ้น และแพทย์อาจอนุญาตให้ผู้ป่วยปรับค่าไฟได้เอง กรณีใช้เครื่องควบคุมสำหรับผู้ป่วย