เมื่อใดที่ควรติดต่อแพทย์

ควรติดต่อแพทย์หากรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ  เช่น  กรณีที่พบอาการดังต่อไปนี้:

  • รู้สึกเจ็บหรือมีอาการบวมแดงที่หนังศีรษะ คอ หรือหน้าอกบริเวณที่ฝังอุปกรณ์   ดีบีเอส
  • ไม่รู้สึกว่าอาการบรรเทาลง แม้เครื่องกระตุ้นสมองกำลังเปิดทำงานอยู่
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บขณะที่เครื่องกระตุ้นทำงาน (แนะนำให้ปิดเครื่องกระตุ้นแล้วติดต่อแพทย์)
  • ไม่สามารถปิดหรือเปิดเครื่องกระตุ้นสมองได้
  • อาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
  • มีอาการผิดปกติที่คาดว่าอาจเป็นเพราะถูกแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน (เช่น จากเสาสัญญาณกันขโมยตามร้านค้า  หรือเครื่องตรวจจับวัตถุโลหะในสนามบิน)
  • ทำอุปกรณ์ควบคุมสำหรับผู้ป่วยหาย 

สิ่งที่ควรทำ

  • ควรแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนทราบว่าคุณมีอุปกรณ์กระตุ้นสมอง
    ส่วนลึก (ดีบีเอส) ฝังอยู่ในร่างกาย พร้อมระบุตำแหน่งที่ฝัง หากบุคลากรทาง  การแพทย์มีข้อสงสัย แนะนำให้ติดต่อศูนย์การรักษาด้วยดีบีเอส
  • ติดต่อแพทย์ที่ดูแลหากมีอาการผิดปกติที่คาดว่าอาจเกิดจากการทำงานของเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก
  • ไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผล

อาการของโรคมีการเปลี่ยนแปลงไป

ในขณะที่โรคพาร์กินสันดำเนินไป และอาการของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป  ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อบรรเทาอาการได้น้อยลง
  • เมื่ออาการไม่บรรเทาลงเลย
  • เมื่อไม่ได้ผลจากการกระตุ้น

ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการแก้ไขอาการที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ด้วยการปรับตั้งค่าการกระตุ้นให้ใหม่อีกครั้ง  อย่างไรก็ตามในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งของอุปกรณ์ หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ หรือนำอุปกรณ์ออกได้

ในกรณีที่เครื่องกระตุ้นสมองถูกปิด  การเคลื่อนไหวผิดปกติบางอาการอาจกลับมาอย่างรวดเร็ว  แต่บางอาการอาจใช้เวลาสักพักจึงจะปรากฎให้เห็น  เนื่องจากการดำเนินของโรคมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นการกระตุ้นอาจ ทำให้มีอาการดีขึ้น หรืออาจแย่ลง หรืออาจจะยังใช้ค่ากระตุ้นเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง